ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557)

ภาพการเคลื่อนที่ของพายุไต้ฝุ่นรามสูร
  • วันที่ 10 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) รายงานว่าพบพายุดีเปรสชันเขตร้อน ก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา และมีการกำหนดรหัส 09W ให้กับพายุ ในคืนของวัน JTWC ได้ปรับระดับความรุนแรงของ 09W ลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในขณะที่ระบบกำลังเคลื่อนผ่านกวม
  • วันที่ 12 กรกฎาคม ระบบเคลื่อนเข้ามาในพื้นที่ที่มีสภาวะเหมาะสม และมีระดับลมเฉือนแนวตั้งต่ำ
  • วันที่ 13 กรกฎาคม JMA ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "รามสูร" ไปทางทิศตะวันตกที่เหนือไป 15 นอต (28 กม./ชม.), มีการไหลเวียนของระบบที่มั่นคงมากขึ้น, รามสูรได้เข้าไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASA ได้ใช้ชื่อ "เกลนดา (Glenda)" และในที่สุดระบบก็ค่อยๆพัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่มันเข้ามาในสภาวะที่ดี คือน้ำทะเลที่อุ่นและลมเฉือนแนวตั้งที่ต่ำ ทั้ง JMA และ JTWC ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของรามสูร เป็นพายุไต้ฝุ่น และตัวพายุมีพัฒนาการของตาพายุเกิดขึ้น
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ในช่วงเช้ารามสูร ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ด้วยความกดอากาศต่ำสุดที่ 945 มิลลิบาร์ ด้วยการติดตามของ JTWC มันที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 และปกคลุมเหนือแผ่นดินของอัลเบย์ และพายุไต้ฝุ่นได้เคลื่อนผ่านแผ่นดิน
  • วันที่ 16 กรกฎาคม เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นรามสูรพัดผ่านบนแผ่นดิน ทำให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับต่ำอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 17 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้เคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3
  • วันที่ 18 กรกฎาคม รามสูรเข้าไปในเขตพื้นผิวน้ำทะเลอบอุ่น และกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 อีกครั้งโดย JTWC และเป็นจุดที่มีกำลังแรงสุดอีกครั้ง
  • วันที่ 19 กรกฎาคม จุดศูนย์กลางของพายุอยู่เหนือแผ่นดินเกาะไหหนาน ต่อมาพายุได้อ่อนกำลังลงจนอยู่ที่ระดับ 2 ต่อมาทั้งสองหน่วยงานก็ได้ลดความรุนแรงลงเป็นพายุโซนร้อน ขณะที่พายุผ่านไปยังมณฑลกวางซี และเป็นการขึ้นแผ่นดินเป็นครั้งที่สาม ต่อมา JTWC ออกคำเตือนสุดท้ายเกี่ยวกับระบบในช่วงคืนวันนั้น
  • วันที่ 20 กรกฎาคม JMA รายงานว่า รามสูร อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อนจะสลายไปเหนือมณฑลยูนานของจีน